ข้อมูลทั่วไป

เมื่อวันที่ 09 มี.ค. 2561 , view 17164 ครั้ง

ส่วนที่ 1

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน


1. ด้านกายภาพ

    1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล

         ตำบลโป่งงาม ได้รับการจัดตั้งตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2๔๕7 เมื่อปี 2533
โดยแยกการปกครองออกมาจากตำบลโป่งผา และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล
โดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ซึ่งประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539
 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ใช้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาในเขตตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย

         ที่ตั้ง

          องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ในเขตบ้านห้วยปูแกง หมู่ที่ 5มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 42 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 26,250 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

          ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลเวียงพางคำ และองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งผา

          ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไคร้ โดยมีลำน้ำโป่งเป็นแนวเขต

          ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านด้าย โดยมีลำน้ำโป่งเป็นแนวเขต

          ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศเมียร์มาร์ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฟ้าหลวง โดยมีแนวถนน
 แม่ฟ้าหลวง – แม่สาย (เส้นทางยุทธศาสตร์ตามแนวชายแดน) เป็นแนวแบ่งเขตพื้นที่ทั้งหมดขององค์การบริหารส่วนตำบลคิดเป็นร้อยละ 14.74 ของพื้นที่อำเภอแม่สาย (ประมาณ 285 ตารางกิโลเมตร) 

ตารางที่ ๑ แสดงจำนวนพื้นที่แยกรายหมู่บ้าน

หมู่

ชื่อบ้าน

พื้นที่ (ประมาณ)

ร้อยละ

ตร.กม.

ไร่


๑.

บ้านถ้ำ

๖.๕

๔,๐๖๒.๕

15.48

๒.

บ้านดง

1,875

7.14

๓.

บ้านถ้ำปลา

1,250

4.76

๔.

บ้านถ้ำใหม่

๐.๓

187.5

0.72

๕.

บ้านห้วยปูแกง

๑.๑

687.5

2.62

๖.

บ้านสันกอสา

๒.๑

1,312.5

5.00

๗.

บ้านสันเกล็ดทอง

1,875

7.14

๘.

บ้านโป่งเหนือ

1,250

4.76

๙.

บ้านโป่ง

2,500

9.52

๑๐.

บ้านผาฮี้ (อาข่า)

๘.๕

5,312.5

20.24

๑๑.

บ้านผาฮี้ (มูเซอ)

5,000

19.05

๑๒.

บ้านถ้ำพัฒนา

๑.๕

937.5

3.57

รวม


๔๒

26,250

100



 


รูปภาพที่ 1 : แผนที่ตั้ง / แนวเขตปกครอง ตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

         1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

               พื้นที่ด้านทิศตะวันตกเป็นภูเขาประมาณ 30 % ขนานไปตามแนวชายแดนไทย – เมียร์มาร์
มีบ้านผาฮี้ อาข่า (ม.10) และบ้านผาฮี้มูเซอ (ม.11) ตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว (อยู่ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนา ดอยตุง) นอกนั้นเป็นพื้นที่ราบประมาณ 70 % อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่ที่เป็นภูเขาซึ่งเป็นที่ตั้ง
 ของอีก 10 หมู่บ้านที่เหลือ โดยมีลักษณะการใช้พื้นที่ดังนี้

                   1. พื้นที่การเกษตร        11,825 ไร่ คิดเป็นร้อยละ         45.05 ของพื้นที่ทั้งหมด

                   2. พื้นที่อยู่อาศัย           4,612   ไร่ คิดเป็นร้อยละ         17.57 ของพื้นที่ทั้งหมด

          3. พื้นที่ป่า                 9,812   ไร่ คิดเป็นร้อยละ         37.38 ของพื้นที่ทั้งหมด

         1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

               ลักษณะอากาศแบ่งออกได้เป็น ฤดูกาล คือ

               ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 38 องศาเซลเซียส

               ฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส

               ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิประมาณ 10 องศาเซลเซียส

                   อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส

                   อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส

          อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 6 องศาเซลเซียส

         1.4 ลักษณะของดิน

               จากลักษณะภูมิประเทศตามข้อ 1.2 สามารถแบ่งลักษณะของดินในพื้นที่ออกเป็น 6 ลักษณะ คือ

ตารางที่ ๒ ลักษณะดินในเขตพื้นที่

ลำดับ

ลักษณะดิน

พื้นที่

พืชที่เหมาะสม

๑.

ดินเหนียว ลักษณะดินปนสีดำ ดินล่างเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล

๔,๘๐๐ ไร่ 

(หมู่ ๑,๖,๑๒)

ข้าว,ยาสูบ

๒.

ดินเหนียว ลักษณะดินบนสีเทาแก่ ดินล่างสีน้ำตาลอ่อน มีจุดประสีน้ำตาล

๘,๒๐๐ ไร่

(หมู่ ๒,๓,๔,๕,๖,๘,๙)

ข้าว,ถั่วต่างๆ,ยาสูบ,กระเทียม

๓.

ดินร่วนปนทรายแป้ง ลักษณะดินมีสีน้ำตาล หรือน้ำตาลปนแดง

๒,๓๓๕ ไร่ (หมู่ ๒,๕,๗)

ข้าวโพด,ผลไม้ต่างๆ

๔.

ดินเหนียวหรือดินร่วนที่มีเศษหินปะปน

๑,๐๕๐ ไร่ (หมู่ ๗)

ข้าวโพด,ถั่วต่างๆ,ไม้ผลต่างๆ

๕.

ดินที่ประกอบไปด้วยพื้นที่ภูเขาซึ่งมีพื้นที่ลาดชันเกิน ๓๕%

๙,๘๑๒ ไร่ 

(หมู่ ๗,๑๐,๑๑)

ข้าวโพด,ถั่วต่างๆ,ไม้ผลต่างๆ

๖.

พื้นที่ดินหินพื้นโผล่

๕๓ ไร่


         1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

               แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ 2 สาย

                   ลำน้ำถ้ำ ต้นน้ำอยู่บริเวณวัดถ้ำปลา ระยะทางยาว 7 กิโลเมตร

                   ลำน้ำโป่ง ต้นน้ำอยู่บริเวณขุนน้ำโป่ง ระยะทางยาว ๑๒ กิโลเมตร

               แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

                   - บ่อบาดาล บ่อตอก บ่อเจาะ (ที่ใช้การได้) จำนวน 21 แห่ง

                   - บ่อน้ำตื้น จำนวน 1,337 แห่ง

                   - แม่น้ำ ลำคลอง จำนวน 5 แห่ง

                   - ฝาย พนังกั้นน้ำ จำนวน 4 แห่ง

                   - อ่างเก็บน้ำ จำนวน  ๓ แห่ง

                   - ลำเหมืองไส้ไก่ จำนวน 19 แห่ง

                   - รางน้ำ ประปาภูเขา จำนวน 4 แห่ง

                   - ประปาหมู่บ้าน จำนวน 9 แห่ง

         1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

      ในพื้นที่อยู่ในเขตป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์




2. ด้านการเมืองการปกครอง

    2.1 เขตการปกครอง

ตำบลโป่งงามประกอบด้วยจำนวนหมู่บ้าน 12  หมู่บ้าน โดย หมู่ 1 – 9 และ หมู่ที่ 12 เป็นพื้นที่ราบและ หมู่ที่ 10 และ 11 เป็นคนไทยภูเขา (เผ่าอาข่า และเผ่าลาหู่)





ลำดับ

ชื่อบ้าน

พื้นที่ (ประมาณ)

ร้อยละ

ตร.กม

ไร่

1

บ้านถ้ำ

6.5

4,062.5

15.48

2

บ้านดง

3

1,875

7.14

3

บ้านถ้ำปลา

2

1,250

4.76

4

บ้านถ้ำใหม่

0.3

187.5

0.72

5

บ้านห้วยปูแกง

1.1

687.5

2.62

6

บ้านสันกอสา

2.1

1,312.5

5.00

7

บ้านสันเกล็ดทอง

3

1,875

7.14

8

บ้านโป่งเหนือ

2

1,250

4.76

9

บ้านโป่ง

4

2,500

9.52

10

บ้านผาฮี้ (อาข่า)

8.5

5,312.5

20.24

11

บ้านผาฮี้ (มูเซอ)

8

5,000

19.05

12

บ้านถ้ำพัฒนา

1.5

937.5

3.57



42

26,250

100

    2.2 การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 12 หมู่บ้าน หากมีการเลือกตั้งในครั้งหน้า จะมี ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน 1 คน จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 2 คน 12 หมู่บ้าน รวมเป็น 24 คน

3.ประชากร

    3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

    ประชากรทั้งสิ้น จำนวน 11,051 คน แยกเป็นชาย  5,284 คน หญิง 5,767 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 263.2 คนต่อตารางกิโลเมตร (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 25๖๒)

หมู่ที่

หมู่บ้าน

ประชากร

รวม (คน)

หลังคาเรือน

ชาย (คน)

หญิง (คน)

1

บ้านถ้ำ

49๘

5๒๖

1,02๔

4๙๑

2

บ้านดง

5๕๖

5๙๑

1,๑4๗

๕๒๖

3

บ้านถ้ำปลา

๖๐๖

๗๒๒

1,๓๒๘

๖๐๙

4

บ้านถ้ำใหม่

4๖๗

๕๗๖

1,0๔๓

40๘

5

บ้านห้วยปูแกง

5๙๔

6๐๘

1,20๒

5๔๗

6

บ้านสันกอสา

2๕9

2๗๙

5๓๘

2๑๒

7

บ้านสันเกล็ดทอง

53๔

5๙๗

1,1๓1

๔๐๐

8

บ้านโป่งเหนือ

๕๘๐

๖๔๕

1,๒๒๕

๔๖๙

9

บ้านโป่ง

4๗๓

51๓

๙๘๖

4๕6

10

บ้านผาฮี้ (อาข่า)

30๘

2๘๒

5๙๐

16๔

11

บ้านผาฮี้ (มูเซอ)

1๒๙

1๔๖

2๗๕

5๗

12

บ้านถ้ำพัฒนา

4๙๖

49๓

๙๖๒

3๕๓


รวม

5,๔๗๓

5,๙๗๘

11,๔๕๑

4,๖๙๔








         3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

      ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยผู้สูงอายุ 60 – 69 ปี

4.สภาพทางสังคม

    4.1 การศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ได้แก่

1. โรงเรียนบ้านโป่ง (หมู่ 8)                           จำนวนนักเรียนประมาณ               1๔๐   คน

2. โรงเรียนบ้านถ้ำปลา (หมู่ 3)                        จำนวนนักเรียนประมาณ               1๔๖   คน

3. โรงเรียนบ้านถ้ำ ต.ชด. (หมู่ 5)                     จำนวนนักเรียนประมาณ              ๑๕๒   คน

4. โรงเรียนบ้านผาฮี้ (หมู่ 10)                         จำนวนนักเรียนประมาณ              1๕๓    คน

5. โรงเรียนบ้านถ้ำ(หมู่ 12)                            จำนวนนักเรียนประมาณ              1๘๕    คน

(อนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6)

โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่

1. วัดถ้ำปลาวิทยาคม                                  จำนวนนักเรียนประมาณ               297   คน

(มัธยมศึกษาปีที่ 1-๖)

วิทยาลัยอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่งได้แก่

1. วิทยาลัยอาชีวศึกษาแม่สาย                         จำนวนนักเรียนประมาณ               694  คน

          ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 6 แห่ง ได้แก่

          1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านถ้ำ                          จำนวนนักเรียนประมาณ               ๖๓คน

          2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดง                           จำนวนนักเรียนประมาณ               ๘๑    คน

          3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปูแกง                       จำนวนนักเรียนประมาณ             ๓๗ คน

          4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่ง                          จำนวนนักเรียนประมาณ                ๑๔    คน

          5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาฮี้ (หมู่ 10)              จำนวนนักเรียนประมาณ               3๐    คน

          6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาฮี้ (หมู่ 11)              จำนวนนักเรียนประมาณ                   ๘    คน

โรงเรียนสอนภาษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ 

สอนภาษาจีน                                             จำนวนนักเรียนประมาณ              735            คน

ในพื้นที่มีการศึกษานอกระบบ(กศน.ประจำตำบลโป่งงาม) 1 แห่ง

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบลโป่งงาม      จำนวนนักเรียนประมาณ                ๑๐๕            คน

    4.2 สาธารณสุข จำนวน 3 แห่ง

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโป่งงาม (บ้านสันกอสา)

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโป่งงาม (บ้านถ้ำ)


3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโป่งงาม (บ้านผาฮี้)

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน                                   จำนวน  12   แห่ง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)                  จำนวน 2๒๒ คน

    4.3 อาชญากรรม

          -

    4.๔ ยาเสพติด

          ปัญหายาเสพติดยังคงมีในพื้นที่ตำบลโป่งงาม เนื่องจากอยู่ติดกับชายแดนไทย-เมียร์มาร์

    4.๕ การสังคมสงเคราะห์

          กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์   จำนวน 12  หมู่บ้าน

5.ระบบบริการพื้นฐาน

    5.1 การคมนาคมขนส่ง

          ถนน การคมนาคมในพื้นที่เป็นการคมนาคมทางบกโดยมีถนนพหลโยธินผ่านพื้นที่ของตำบล

เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่เชื่อมการคมนาคมเข้าไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ

                   ถนนลาดยาง             8 สาย    ระยะทาง 11.92 กิโลเมตร         ใช้ได้ดีทุกฤดูกาล

                   ถนนคอนกรีต     151 สาย     ระยะทาง 31.26 กิโลเมตร         ใช้ได้ดีทุกฤดูกาล

                   ถนนดินลูกรัง          50 สาย     ระยะทาง 12.13 กิโลเมตร

                   ถนนบล๊อกตัวไอ         6 สาย     ระยะทาง   3.38 กิโลเมตร

    5.2 การไฟฟ้า

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค                                  จำนวน  4,400   ครัวเรือน

ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์)                จำนวน       39    ครัวเรือน

รวมจำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 4,439 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 ของครัวเรือนที่มีอยู่จริง

    5.3 การประปา

          แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ 2 สาย

                   ลำน้ำถ้ำ ต้นน้ำอยู่บริเวณวัดถ้ำปลา                   ระยะทางยาว 7   กิโลเมตร

          ลำน้ำโป่ง ต้นน้ำอยู่บริเวณขุนน้ำโป่ง                  ระยะทางยาว ๑๒   กิโลเมตร

          แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

                   - บ่อบาดาล บ่อตอก บ่อเจาะ (ที่ใช้การได้)            จำนวน      21    แห่ง

                   - บ่อน้ำตื้น                                              จำนวน 1,337   แห่ง

                   - แม่น้ำ ลำคลอง                                       จำนวน        5   แห่ง

                   - ฝาย พนังกั้นน้ำ                                       จำนวน        4    แห่ง

                   - อ่างเก็บน้ำ                                            จำนวน        2   แห่ง

                   - ลำเหมืองไส้ไก่                                        จำนวน      19   แห่ง

                   

                   - รางน้ำ ประปาภูเขา                                  จำนวน        4    แห่ง

          - ประปาหมู่บ้าน                                                 จำนวน        9    แห่ง

    5.4 โทรศัพท์

ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่

โทรศัพท์สาธารณะ                                               จำนวน       16   แห่ง

    5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์ห้วยไคร้ ตั้งอยู่ ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
 ห่างจากตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ไปทางทิศใต้ประมาณ 8.5 กิโลเมตร

6.ระบบเศรษฐกิจ

    6.1 การเกษตร

ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ทำไร่ ทำสวน
 เลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง

      6.2 การประมง

ในเขตพื้นที่ตำบลโป่งงาม ไม่มีการทำประมงเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

    6.3 การปศุสัตว์

         ในเขตพื้นที่ตำบลโป่งงาม ไม่มีที่ทำการปศุสัตว์ แต่ยังมีประชาชนบางส่วน เลี้ยง โค กระบือ และสุกร

    6.4 การบริการ

- บริการนวดพื้นเมือง ที่วัดโป่งผา หมู่ที่ 9 บ้านโป่ง ตำบลโป่งงาม

- ร้านบริการทำผม เสริมสวย พื้นที่ หมู่ที่ 1-3,5,7-9 และหมู่ที่ 12  จำนวน   14 แห่ง

- โรงแรมในพื้นที่                                                          จำนวน     2 แห่ง

- รีสอร์ทในพื้นที่                                                          จำนวน     8 แห่ง

- โรงสีข้าวขนาดเล็กในพื้นที่                                              จำนวน     4 แห่ง

    6.5 การท่องเที่ยว

          พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงาม เป็นพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศสวยงามประกอบด้วย ทิวเขา ป่าไม้ตลอดจนแหล่งต้นน้ำและสภาพทางธรรมชาติอันสมบูรณ์ โดยพื้นที่ดอยนางนอนเชื่อมยาวต่อกับพื้นที่ดอยตุง
และประเทศเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าประเภทลิงอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีถ้ำขนาดใหญ่
 ที่สวยงาม เป็นที่ดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยวสะดวกสบายจากถนนพหลโยธิน มีถนนลาดยางตัดเชื่อมระยะทาง 2 กิโลเมตร 

          แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีดังนี้      

          6.5.1 วัดถ้ำปลา ภายในวัดประกอบด้วย 

                   - ถ้ำเปลวปล่องฟ้า เป็นถ้ำที่อยู่ถัดจากถ้ำปลาไปทางทิศใต้ ถ้ำนี้ตั้งอยู่บนยอดเขา มีลักษณะ เป็นถ้ำทะลุสู่ท้องฟ้า

                   - ถ้ำกู่แก้ว เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่และลึกที่สุดของบริเวณนี้ ทางขึ้นถ้ำเป็นบันได 29 ขั้น
 วัดความกว้างของปากถ้ำได้ประมาณ 4.60 เมตร ความสูงประมาณ 2.16 เมตร ลึกประมาณ 509 เมตร

                    - ถ้ำตุ๊ปู่ อยู่ถัดจากถ้ำกู่แก้วทางด้านทิศเหนือ ประมาณ 500เมตรซึ่งอยู่ในบริเวณโรงเรียน
 วัดถ้ำปลาวิทยาคม ซึ่งมีอยู่ 2 จุด คือจุดที่ 1 เป็นถ้ำที่มีขนาดกว้างประมาณ 4.5 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร ลึกประมาณ 4.80 เมตร ถ้ำแห่งนี้เคยได้รับการบูรณะให้เป็นอาศรม ของพระที่ธุดงค์และจำพรรษามาก่อน

                   - พระธาตุเจดีย์นพจุฑาเก้ายอด เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นโดย พระคุณเจ้าหลวงพ่อสุมนาโนดาบส
ท่านได้เป็นประธานก่อสร้างโดยอาศัยผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านเป็นผู้ช่วยกันก่อสร้าง ด้วยน้ำใจผู้ศรัทธาในตัวท่าน พระเจดีย์องค์นี้ ก่อสร้างด้วยศิลาแลงทั้งองค์ ภายในบรรจุพระสารีริกธาตุที่มีผู้นามาถวายจากที่ต่างๆ
 เป็นต้นว่า อินเดีย พม่าสุโขทัย สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2523 

                   - พระธาตุเจดีย์อินทร์แปลง เป็นพระเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนหน้าผาบริเวณบนวิหารวัดถ้ำปลา โดยประวัติประมาณปี พ.ศ. 2455 – 2456 ฤาษีองค์หนึ่งชื่อว่า อูส่วยหลูเดินทางมาจาก ประเทศพม่า เป็นผู้ที่สร้าง

                  - ถ้ำก้อง เป็นถ้ำที่มีทางเดินขึ้นร่วมกับถ้ำเปลวปล่องฟ้าคือเมื่อถึง ระยะทางประมาณ 6,504เมตร
ด้านซ้ายมือของทางขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถ เดินลัดเลาะไปตามโขดหินด้านทิศใต้ระยะทาง ประมาณ
30 เมตร จะพบถ้ำฆ้องภายในถ้ำจะมีเสียงดังก้องทะลุ ออกทางโพรงของถ้ำ ชาวบ้าน จึงขนานนามถ้ำนี้
 ว่าถ้ำฆ้อง (ก้อง)

                 - ถ้ำน้อย เป็นถ้ำที่อยู่ห่างจากจุดทางขึ้นถ้ำเปลวปล่องฟ้าไปทางทิศใต้ประมาณ 100 เมตร
 มีลักษณะเป็นโพรงเล็กๆ มีลำธารทะลุไหลผ่าน มี 2 จุดซึ่งธารน้ำที่ไหลออกจากโพรงมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6 เมตร บริเวณนี้มีจุดเด่น คือ ด้านหน้ามีเถาวัลย์ของสะบ้าใหญ่ (มะบ้าใหญ่) ซึ่งแต่เดิมเคยมีค่างหางยาวใช้เป็นที่อยู่อาศัยและปีนป่ายเล่น

                - ถ้ำเงิบ ถ้ำนี้อยู่ห่างจากถ้ำน้อยประมาณ 30 เมตรอยู่ในบริเวณถ้ำเสาหินมีลักษณะเป็นหน้าผายื่นออกมาวัดความกว้างของปากถ้ำได้ประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 3 เมตร ลึกประมาณ 5 เมตร ใช้เป็น
 ที่หลบฝนและพักผ่อนหย่อนใจ

                 - ถ้ำวอก อยู่ถัดจากถ้ำเงิบไปทางทิศใต้อยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำถ้ำเสาหิน พญานาค เป็นถ้ำที่อยู่บนเนินสูง
ทางเดินขึ้นค่อนข้างชันลักษณะเอียงประมาณ 45 องศา มีระยะทาง จากสันเขื่อนอ่างเก็บน้ำ ถึงบริเวณถ้ำ
 ยาว ประมาณ 50 เมตร

              - ถ้ำปุ่ม ถ้ำนี้อยู่ในเขตบ้านดง หมู่ที่ 2 ตำบลโป่งงาม เป็นถ้ำที่มีประเพณีประจำปีในการทำบุญ
 ในวันแรม 9 ค่ำเดือน 6 ของทุกปี ชาวบ้านเรียกประเพณี ถ้ำปุ่ม - ถ้ำปลา มีลักษณะเป็นถ้ำที่อยู่บนหน้าผาสูงจากพื้นดินประมาณ 30 เมตร ทางขึ้นเป็นบันได 73 ขั้น สูง ประมาณ 132 เมตร 

             -  อ่างเก็บน้ำถ้ำเสาหินพญานาค การเดินทางไปถ้ำนี้สามารถไปได้ ทั้งทางน้ำและทางบก โดยการพายเรือ และเดินข้ามทางสะพานไม้ ปากถ้ำวัดความกว้าง ได้ประมาณ 4.70 เมตร สูงประมาณ2.40 เมตร ลักษณะของถ้ำเป็นโพรงสูงขึ้นในแนวดิ่ง หินงอกมีลักษณะเป็นแท่งๆ ซ้อนกันคล้ายเสาบ้าน ชาวบ้านจึงเรียกถ้ำนี้ว่า ถ้ำเสาหิน
- ขุนน้ำโป่งเป็นต้นน้ำของลำน้ำโป่งอยู่บริเวณเขตติดต่อระหว่าง บ้านสันต้นปุย ต.ห้วยไคร้ กับบ้านโป่งเหนือ ตำบลโป่งงาม มีลักษณะเป็นโป่งน้ำธรรมชาติที่ผุดออกมาบนผิวดินและไหลลงลำน้ำมีการพัฒนากั้นเป็นฝายกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร ขุนน้ำโป่ง จะมีทางเข้าเส้นเดียวกับบ้านสันต้นปุย ตำบลห้วยไคร้ จะผ่านบริเวณหมู่บ้านเข้าไปเป็นระยะทางประมาณ 1.8 กิโลเมตร
             - จุดชมวิวดอยผู้เฒ่า อยู่บริเวณพื้นที่หมู่ที่ 10 ใช้ระยะเวลาใน การเดินเท้าประมาณ 1 ชั่วโมงจากสถานีอนามัยบ้านผาฮี้ บริเวณจุดชมวิวเป็นพื้นที่โล่งประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร     ทางองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งงามได้ดำเนินการปลูกดอกบัวตอง ในฤดูหนาวช่วงเดือนพฤศจิกายน -ธันวาคม ดอกบัวตองจะบานสะพรั่งบนจุดชมวิว โดยจะสามารถมองเห็นแม่น้ำโขง ประเทศลาว และประเทศพม่า

- ศิลปวัฒนธรรม ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนของคนพื้นเมืองการแสดงจะมีดนตรีประกอบจะแสดงในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่า

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น